
Markus Villig ก่อตั้ง Bolt ตอนอายุ 19 จนกลายเป็น มหาเศรษฐี 40,000 ล้าน
Markus Villig ก่อตั้ง Bolt ตอนอายุ 19 จนกลายเป็น มหาเศรษฐี 40,000 ล้าน /โดย ลงทุนแมน
เมื่อ 22 ปีก่อน ประเทศเล็ก ๆ ในยุโรปอย่าง เอสโตเนีย
ได้ให้กำเนิด Skype ธุรกิจวิดีโอคอลที่เปลี่ยนวิธีการสื่อสารของคนทั้งโลก ซึ่งถูก Microsoft ซื้อกิจการไป
เมื่อ 22 ปีก่อน ประเทศเล็ก ๆ ในยุโรปอย่าง เอสโตเนีย
ได้ให้กำเนิด Skype ธุรกิจวิดีโอคอลที่เปลี่ยนวิธีการสื่อสารของคนทั้งโลก ซึ่งถูก Microsoft ซื้อกิจการไป
ตำนานของ Skype เป็นแรงบันดาลใจให้ชาวเอสโตเนีย อยากประสบความสำเร็จแบบนั้นบ้าง รวมถึงชายหนุ่มที่ชื่อว่า “คุณ Markus Villig”
ซึ่งเขาได้ก่อตั้งแพลตฟอร์มเรียกรถ “Bolt” ที่หลายคนคงเคยได้ยินชื่อกัน ด้วยวัยเพียง 19 ปีเท่านั้น
จนผ่านมาถึงปัจจุบัน สามารถขยายบริการไปในหลายประเทศ และก้าวขึ้นเป็นมหาเศรษฐีอายุน้อยอันดับต้น ๆ ของยุโรปได้
แนวคิดการทำธุรกิจของชายคนนี้ น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
คุณ Markus Villig เป็นนักธุรกิจชาวเอสโตเนีย เกิดเมื่อปี 1993 ปัจจุบันมีอายุ 31 ปี
เขาซึมซับเกี่ยวกับวงการเทคโนโลยีมาตั้งแต่เด็ก โดยเห็นพี่ชายทำงานอยู่ที่ Skype และได้ลองศึกษาการเขียนโคดด้วยตัวเอง
ต่อมาในปี 2013 พี่ชายของคุณ Villig เล่าให้ฟังว่า ตอนเดินทางไปประชุมที่ประเทศยูเครน ได้มีโอกาสใช้งานแอปพลิเคชันเรียกรถตัวหนึ่ง
ทำให้เขาฉุกคิดขึ้นได้ว่า ที่เอสโตเนียยังไม่มีบริการในลักษณะดังกล่าวเลย อีกทั้งการเรียกแท็กซี่แบบปกติ ก็ต้องรอนานและมีราคาแพง
คุณ Villig ซึ่งขณะนั้นอายุเพียง 19 ปี จึงตัดสินใจที่จะก่อตั้งธุรกิจแพลตฟอร์มเรียกรถขึ้นมาบ้าง
โดยขอยืมเงินทุนจากครอบครัวประมาณ 190,000 บาท และชักชวนพี่ชายกับเพื่อน มาร่วมกันสร้างแอปพลิเคชันชื่อว่า Taxify
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรก พวกเขาต้องเผชิญความยากลำบากพอสมควร เพราะมันเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่คนไม่รู้จัก ทำให้มักโดนปฏิเสธการใช้งาน
แต่คุณ Villig ก็ใช้วิธีเดินไปแนะนำแอปพลิเคชันกับแท็กซี่แต่ละราย จนรวบรวมคนขับได้ราว 100 คน และเปิดให้บริการแพลตฟอร์มได้สำเร็จ ในเดือนสิงหาคม ปี 2013
หลังจากนั้น Taxify ก็เติบโตในเอสโตเนียขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้คุณ Villig มองเห็นศักยภาพในการขยายบริการไปในต่างประเทศด้วย
แต่คำถามสำคัญคือ แล้วพวกเขาจะแข่งขันกับผู้เล่นรายใหญ่ในประเทศอื่น ๆ ได้อย่างไร ?
ซึ่งในขณะนั้น มี Uber ยักษ์ใหญ่ของตลาดนี้ ที่มีเงินทุนมหาศาล กำลังเผาเงินเพื่อยึดครองฐานผู้ใช้งาน โดยเฉพาะในสหรัฐฯ และทวีปยุโรป
Taxify ที่ไม่ได้มีเงินระดมทุนมากมายเหมือน Uber จึงต้องหากลยุทธ์ที่แตกต่างออกไป
โดยบริษัทพุ่งเป้าการทำตลาดไปที่เมืองหรือประเทศเล็ก ๆ ที่ Uber หรือผู้เล่นรายอื่น ยังไม่สนใจมากนัก เช่น ประเทศแถบยุโรปตะวันออก หรือทวีปแอฟริกา
รวมทั้งกำหนดค่าบริการให้ถูกกว่า ซึ่ง Taxify คิดค่าคอมมิชชันแค่ 15% ส่วน Uber อยู่ที่ประมาณ 25%
สาเหตุที่ทำแบบนั้นได้ โดยไม่ใช่การเผาเงินแข่งคือ โครงสร้างต้นทุนที่ต่างกัน เพราะฐานเงินเดือนของพนักงานในเอสโตเนีย ย่อมต่ำกว่าในสหรัฐฯ
ประกอบกับบริษัทโฟกัสแค่บริการเรียกรถ ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง ระบบขับขี่อัตโนมัติ
นอกจากนั้น Taxify ยังมีการปรับบริการให้เข้ากับคนท้องถิ่น เช่น เปิดให้ชำระด้วยเงินสดได้ในแอฟริกา เนื่องจากคนอาจไม่มีบัตรเครดิตหรือบัญชีออนไลน์
หรือการเป็นพาร์ตเนอร์กับสถาบันการเงิน เพื่อช่วยเหลือด้านสินเชื่อให้แก่คนขับรถ เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ Taxify จึงมีฐานตลาดของตัวเองอย่างชัดเจน และทำให้มีผู้สนใจเข้ามาร่วมลงทุน เช่น Daimler, DiDi Chuxing จนมีสถานะเป็นสตาร์ตอัปยูนิคอร์น หรือสตาร์ตอัปที่มีมูลค่าเกินกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ในปี 2018
พอมีเงินทุนมากขึ้น คุณ Villig เลยหาโอกาสในธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเดินทางเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น การเช่าสกูตเตอร์ หรือ ฟูดดิลิเวอรี
ซึ่งเมื่อแพลตฟอร์มเริ่มมีหลายบริการ ไม่ใช่แค่เรียกรถ เขาจึงรีแบรนด์บริษัทใหม่ในชื่อ Bolt ตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา
ปัจจุบัน Bolt มีจำนวนผู้ใช้งานอยู่ราว 150 ล้านราย ใน 50 ประเทศ รวมไปถึงประเทศไทย ที่เริ่มเข้ามาทำตลาดในช่วงปี 2020
โดยผลประกอบการของ Bolt กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง
- ปี 2022 รายได้ 48,000 ล้านบาท
- ปี 2023 รายได้ 65,000 ล้านบาท
- ปี 2024 รายได้ 76,000 ล้านบาท
- ปี 2023 รายได้ 65,000 ล้านบาท
- ปี 2024 รายได้ 76,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในการระดมทุนรอบล่าสุด เมื่อเดือนมกราคม ปี 2022 บริษัทได้ถูกประเมินมูลค่าไว้อยู่ที่ 280,000 ล้านบาท หรือใหญ่พอ ๆ กับธนาคารกรุงเทพในตลาดหุ้นไทย
ซึ่งทำให้คุณ Villig ที่ถือหุ้นอยู่ในสัดส่วน 16.7% มีทรัพย์สินมูลค่าไม่ต่ำกว่า 46,000 ล้านบาท นับเป็นมหาเศรษฐี Billionaire อายุน้อยอันดับต้น ๆ ของยุโรป
จากเรื่องราวนี้จะเห็นได้ว่า
การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ใช่แค่การเลียนแบบหรือเผาเงินสู้กับคนอื่น
แต่ต้องทำความเข้าใจในสนามแข่งขัน รวมถึง Insight ของลูกค้าให้ลึกซึ้งด้วย
การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ใช่แค่การเลียนแบบหรือเผาเงินสู้กับคนอื่น
แต่ต้องทำความเข้าใจในสนามแข่งขัน รวมถึง Insight ของลูกค้าให้ลึกซึ้งด้วย
เช่นเดียวกับกรณีของคุณ Villig
ซึ่งไม่มีเงินทุนหรือประสบการณ์อะไรมากมาย
แต่เลือกโฟกัสในจุดที่ตัวเองน่าจะพอสู้ได้
ซึ่งไม่มีเงินทุนหรือประสบการณ์อะไรมากมาย
แต่เลือกโฟกัสในจุดที่ตัวเองน่าจะพอสู้ได้
นั่นจึงทำให้ Bolt เติบโตจากสตาร์ตอัปรายเล็ก ๆ ไปสู่เวทีระดับโลกได้
ซึ่งทั้งหมดนี้ มีจุดเริ่มต้นตอนคุณ Villig อายุ 19 ปีเท่านั้น..
References
-https://productmint.com/bolt-business-model-how-does-bolt-make-money/
-https://www.venturebeam.com/bolt-how-a-19-year-old-estonian-founder-took-on-uber/
-https://www.reuters.com/technology/uber-rival-bolts-annual-revenue-hits-2-billion-euros-2024-11-14/
-https://news.err.ee/1609386443/bolt-turnover-and-loss-grow-on-year
-https://sifted.eu/articles/bolt-ceo-interview-self-driving-cars
-https://bolt.eu/en/press/
-https://productmint.com/bolt-business-model-how-does-bolt-make-money/
-https://www.venturebeam.com/bolt-how-a-19-year-old-estonian-founder-took-on-uber/
-https://www.reuters.com/technology/uber-rival-bolts-annual-revenue-hits-2-billion-euros-2024-11-14/
-https://news.err.ee/1609386443/bolt-turnover-and-loss-grow-on-year
-https://sifted.eu/articles/bolt-ceo-interview-self-driving-cars
-https://bolt.eu/en/press/