
Bill Ackman กับดีลกู้ชีพ ธุรกิจศูนย์การค้า ที่ล้มละลาย จนทำกำไร 28 เท่า
Bill Ackman กับดีลกู้ชีพ ธุรกิจศูนย์การค้า ที่ล้มละลาย จนทำกำไร 28 เท่า /โดย ลงทุนแมน
เวลาพูดถึงธุรกิจล้มละลาย ภาพในหัวของเราคงเป็น ธุรกิจที่ขาดทุนหนัก ไม่ทำเงิน และใครที่เกี่ยวข้อง ต่างต้องขาดทุนกันถ้วนหน้า
เวลาพูดถึงธุรกิจล้มละลาย ภาพในหัวของเราคงเป็น ธุรกิจที่ขาดทุนหนัก ไม่ทำเงิน และใครที่เกี่ยวข้อง ต่างต้องขาดทุนกันถ้วนหน้า
ซึ่งความเป็นจริงส่วนใหญ่ก็เป็นเช่นนั้น
แต่ก็มีบางเคส ที่คำว่า “ล้มละลาย” ได้กลายเป็นโอกาสทองในการทำเงินมหาศาล
แต่ก็มีบางเคส ที่คำว่า “ล้มละลาย” ได้กลายเป็นโอกาสทองในการทำเงินมหาศาล
และหนึ่งในคนที่คว้าโอกาสนั้นมาได้ จนสร้างชื่อเสียงในฐานะนักลงทุนมือฉมัง มีนามว่า “Bill Ackman”
เขาเป็นผู้บริหารกองทุนเฮดจ์ฟันด์ชื่อดัง ซึ่งทำให้ธุรกิจ GGP ที่ล้มละลายนั้น กลายเป็นดีลที่สร้างผลตอบแทนมหาศาล
เบื้องหลังดีลนี้น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จุดเริ่มต้นของดีลระดับตำนานนี้ เกิดขึ้นในปี 2008 เมื่อโลกเผชิญวิกฤติการเงินครั้งใหญ่ที่สุดนับจาก Great Depression
ธนาคารยักษ์ใหญ่ล้มระเนระนาด มีคนตกงานจำนวนมาก บ้านถูกยึด ตลาดหุ้นร่วงหนัก นักลงทุนสูญเงินในพริบตา
และ GGP ก็เป็นธุรกิจที่ประสบภัย ท่ามกลางมรสุมนี้..
และ GGP ก็เป็นธุรกิจที่ประสบภัย ท่ามกลางมรสุมนี้..
GGP หรือ General Growth Properties เป็น REIT (Real Estate Investment Trust) หรือกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE)
GGP เป็นเจ้าของและผู้พัฒนาศูนย์การค้ารายใหญ่ของสหรัฐฯ บริษัทมีห้างชั้นนำกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ เช่น Ala Moana Center และ Fashion Show Mall
ศูนย์การค้าเหล่านี้ตั้งอยู่ในทำเลทอง คนพลุกพล่าน เต็มไปด้วยแบรนด์ดังที่เข้ามาเปิดร้าน และสร้างรายได้จากค่าเช่าที่มั่นคงมาโดยตลอด
แต่เส้นทางที่ดูสดใส กลับต้องเผชิญปัญหาอย่างหนัก จากวิกฤติการเงินโลก ทำให้ตลาดการเงินทั่วโลกหยุดชะงัก จนแหล่งเงินกู้ แหล่งเงินทุนหายไปอย่างฉับพลัน ส่งผลให้หลาย ๆ ธุรกิจไม่สามารถจัดหาเงินทุนหรือสภาพคล่อง เพื่อพยุงกิจการได้อย่างเพียงพอ
บวกกับการที่ GGP ขยายกิจการอย่างรวดเร็วในช่วงก่อนหน้านั้น โดยใช้การกู้เงินจำนวนมากมาเข้าซื้อกิจการ และพัฒนาโครงการใหม่
จนมีหนี้สะสมสูงกว่า 9.9 แสนล้านบาท แม้จะมีทรัพย์สินมากกว่า 1.1 ล้านล้านบาทก็ตาม
ด้วยหนี้สินที่สูง และสภาพตลาดการเงินที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้ GGP ไม่สามารถรีไฟแนนซ์หนี้ที่กำลังจะครบกำหนดชำระได้
จึงต้องยื่นล้มละลายเข้าสู่กระบวนการ Chapter 11 เพื่อปรับโครงสร้างหนี้
ถือเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ที่ยื่นล้มละลาย
ถือเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ที่ยื่นล้มละลาย
ในตอนนั้น มูลค่าธุรกิจของ GGP ดิ่งลงอย่างหนัก จากที่เคยสูงถึงเกือบ 730,000 ล้านบาท เหลือเพียงแค่ 3,250 ล้านบาทเท่านั้น
ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนของ GGP ลดลงเหลือเพียง 0.6 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับจุดสูงสุดที่เคยพุ่งเกิน 67 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงต้นปี 2007
หลายคนมองว่า GGP ตายไปแล้ว และไม่น่าจะฟื้นตัวได้
ในขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่หลีกหนี แต่คุณ Ackman กลับมองเห็นว่า GGP ไม่ได้ล้มเหลวในเชิงธุรกิจ แต่ล้มเหลวในด้านโครงสร้างหนี้
คุณ Ackman ประเมินว่า GGP มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (Net Asset Value) ที่มากกว่าหนี้สิน และธุรกิจยังมี กระแสเงินสดจากค่าเช่าที่มั่นคง หากปรับโครงสร้างการชำระหนี้ ธุรกิจก็มีโอกาสฟื้นตัว และสามารถกลับมาแข็งแกร่งได้อีกครั้ง
คุณ Ackman เริ่มซื้อ GGP โดยลงทุนรวม 2,000 ล้านบาท ผ่านกองทุน Pershing Square
บวกกับคุณ Ackman ได้เข้าร่วมในกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ และร่วมเจรจากับเจ้าหนี้โดยตรง ผลักดันให้ GGP ต่ออายุหนี้เพิ่มอีก 7 ปี เพื่อให้มีเวลาฟื้นฟูกระแสเงินสด
และช่วยจัดหาเงินกู้ Debtor-in-Possession ให้ GGP จำนวน 12,176 ล้านบาท เพื่อช่วยบริหารสภาพคล่อง
เงินกู้ Debtor-in-Possession คือเงินกู้ที่บริษัทที่ยื่นล้มละลายภายใต้ Chapter 11 ขอใช้ระหว่างกระบวนการฟื้นฟูกิจการ
เงินกู้นี้ช่วยให้ธุรกิจมีเงินหมุนเวียน ใช้จ่ายในค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และดำเนินงานต่อได้ตามปกติ
โดยเจ้าหนี้ที่ให้ Debtor-in-Possession จะมีสิทธิเรียกร้องสูงกว่าเจ้าหนี้รายอื่นในกรณีที่บริษัทล้มเหลวในการฟื้นตัว
GGP ใช้เวลา 2 ปี ออกจากภาวะล้มละลายในปี 2010 และคุณ Ackman กวาดกำไรรวมกว่า 56,000 ล้านบาท จากเงินต้น 2,000 ล้านบาท หรือประมาณ 28 เท่า
กลายเป็นหนึ่งในดีล Turnaround ที่ประสบความสำเร็จ และทำกำไรได้มากที่สุดในอาชีพของคุณ Ackman
หลังจากความสำเร็จของดีลนี้ ส่งผลให้ GGP แยกตัวออกเป็นสองบริษัทใหม่ ได้แก่ The Howard Hughes Corporation และ Rouse Properties ที่ยังดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
บทเรียนสำคัญจากดีลกู้ชีพธุรกิจ GGP
เรื่องราวเหล่านี้ สอนให้เรารู้ว่า ในการลงทุน บางครั้งอย่ามองแค่ปัจจัยภายนอก แต่ต้องดูที่มูลค่าทรัพย์สินของกิจการ และศักยภาพของธุรกิจด้วย
เรื่องราวเหล่านี้ สอนให้เรารู้ว่า ในการลงทุน บางครั้งอย่ามองแค่ปัจจัยภายนอก แต่ต้องดูที่มูลค่าทรัพย์สินของกิจการ และศักยภาพของธุรกิจด้วย
ดังตัวอย่างกรณีนี้ คุณ Ackman มองเห็นว่า GGP มีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง แต่ยังคงมีศักยภาพในการทำกำไรได้ เพียงแค่ต้องปรับโครงสร้างหนี้ และขยายระยะเวลาในการชำระหนี้
การวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง และกล้าตัดสินใจสวนทางกับนักลงทุนในตลาด ทำให้ดีลนี้ประสบความสำเร็จ และทำผลตอบแทนอย่างงดงาม
เพราะในทุกวิกฤติ ย่อมมีโอกาสอยู่เสมอ
และความสำเร็จของคุณ Ackman กับดีลกู้ชีพธุรกิจ GGP ก็ได้กลายเป็นกรณีศึกษา ที่นักลงทุนทั่วโลกต่างหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างของการลงทุนในธุรกิจ Turnaround ที่พลิกจากวิกฤติ มาเป็นกำไรมหาศาล..
References
-https://www.high-yield-landlord.com/p/bill-ackman-and-ggp-important-lessons
-https://www.reuters.com/article/markets/funds/investor-ackman-sees-13-fold-return-on-general-growth-stake-idUSN27280059/
-https://www.reuters.com/article/generalgrowth/update-3-general-growth-cleared-to-exit-bankruptcy-idUSN2114061120101022/?utm_source=chatgpt.com
-https://www.high-yield-landlord.com/p/bill-ackman-and-ggp-important-lessons
-https://www.reuters.com/article/markets/funds/investor-ackman-sees-13-fold-return-on-general-growth-stake-idUSN27280059/
-https://www.reuters.com/article/generalgrowth/update-3-general-growth-cleared-to-exit-bankruptcy-idUSN2114061120101022/?utm_source=chatgpt.com