กรณีศึกษา MasterChef Thailand

กรณีศึกษา MasterChef Thailand

28 พ.ค. 2018
กรณีศึกษา MasterChef Thailand / โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงรายการยอดนิยมตอนนี้ก็คือ
MasterChef Thailand
แต่รู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้วรายการนี้
เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ 28 ปีที่แล้ว
รายการนี้มีอีกหลายอย่างให้เราเรียนรู้
วันนี้ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
รู้หรือไม่ว่า รายการ MasterChef เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1990 ที่ประเทศอังกฤษ โดยมี Franc Roddam เป็นผู้ที่ก่อตั้งรายการนี้ขึ้นมา
รายการนี้มีการปรับมาเรื่อยๆ จนกระทั่งรูปแบบรายการเป็นอย่างที่เห็นกัน
และปัจจุบันรายการนี้มีฉายมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก เช่น อังกฤษ สหรรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เวียดนาม
รายการ MasterChef เป็นการแข่งขันทำอาหาร มีเรื่องที่น่าสนใจอยู่ 3 ส่วนหลักๆ
เริ่มจาก “ผู้เข้าแข่งขัน”
ที่น่าสนใจเพราะว่า คนที่เข้าสมัครในรายการนี้จะต้องเป็นคนที่ไม่เคยเป็นเชฟมาก่อน แต่คนเหล่านี้ต้องมีใจรักในการทำอาหารเป็นสิ่งสำคัญ
ซึ่งถ้าดูจริงๆแล้ว ความสำเร็จหลายๆ อย่างมักเกิดจาก Passion เป็นส่วนประกอบที่ผลักดันให้อดทนทำสิ่งต่างๆ
หลายคนที่เข้ามาแข่งขัน ก็เพราะรักในการทำอาหารและอยากพิสูจน์ให้คนอื่นเห็นถึงความสามารถของเขา
ผู้ร่วมแข่งขันที่อยู่ในรายการจะต้องเจอคำพูดแบบแรงและตรง ก็อาจจะทำให้คนที่เข้ามาแข่งแบบเล่นๆ อาจจะถอดใจได้ง่าย
เรื่องที่น่าสนใจเรื่องที่ 2 ก็คือ “รูปแบบของรายการ”
เพราะแต่ละสัปดาห์จะมีโจทย์ให้ผู้เข้าแข่งขันสลับกันไป ทั้ง
การทำอาหารเป็นทีม
การทำอาหารจากวัตถุดิบปริศนา
การทำอาหารให้เหมือนกับจานต้นฉบับ
หรือแม้กระทั่งการทำอาหารที่คู่แข่งตั้งใจที่จะเลือกสิ่งที่ยากที่สุดให้กับเรา
แต่วัตถุประสงค์เบื้องหลังของทั้งหมดนี้ เป็นการทำให้ผู้เข้าแข่งขันเสมือนเจอกับเหตุการณ์จริงที่เราต้องรับมือให้ได้ และนี่ถือว่าเป็นโอกาสที่เชฟจะได้พัฒนาทักษะการทำอาหาร
บางสัปดาห์ที่ผู้เข้าแข่งขันบางคนได้โจทย์ยากแต่สามารถทำออกมาได้อย่างดีเยี่ยม
ผิดกับบางคนที่ได้โจทย์ง่าย แต่ก็พลาดในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ จนทำให้ถูกคัดออก
ถ้าให้ยกตัวอย่างตอนที่พีค ก็คงจะเป็นซีซั่นแรกที่มีผู้เข้าแข่งขันเป็นคนอิสลาม แต่ต้องทำอาหารที่โจทย์คือ “หมู” เขากลับทำออกมาได้ดี และชนะในรอบนั้น
เรื่องนี้ทำให้เห็นถึงความตั้งใจ และสปิริตของการเป็นเชฟ
แต่สิ่งสุดท้ายที่สำคัญของรายการนี้ก็คือ “กรรมการ”
ต้องยอมรับว่า กรรมการ ทั้ง 3 ท่าน นั่นก็คือ
หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (คุณอิงค์)
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (คุณป้อม)
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)
กรรมการทั้ง 3 ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร ที่ต้องทำหน้าที่ชิมทุกจาน
อาหารบางจานอาจจะมีรสชาติที่แปลกไป แต่กรรมการก็มีหน้าที่ที่จะต้องชิมเพื่อให้รับรู้รสชาติ ที่จะได้ตัดสินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ในทุกๆ รอบที่ติดตามดู กรรมการทุกท่านมักจะมีแง่คิดดีๆ คอยเตือนสติผู้เข้าแข่งขันในระหว่างการแข่งขันอยู่เสมอ
อาจจะผู้เข้าแข่งขันบางคนที่เถียงบ้าง แต่กรรมการก็เหมือนกับเป็น “ครู” คอยสอนไม่ว่าเด็กคนนั้นจะดื้อแค่ไหนก็ตาม เพราะผู้แข่งขันก็เหมือนกับ “ลูกศิษย์”
รายการ MasterChef Thailand มีบริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด เป็นผู้ผลิตรายการ
ปี 2557 รายได้รวม 284 ล้านบาท
ปี 2558 รายได้รวม 339 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้รวม 165 ล้านบาท
ซึ่งรายได้ทั้งหมดนี้เป็นรายได้ก่อนที่จะมีรายการ MasterChef ในปี 2560
รายการนี้อาจจะทำให้เราเห็นว่า
การทำสิ่งต่างๆ ที่เกิดควรมาจาก Passion
และ Passion นี้ก็จะเป็นสิ่งที่ผลักดันให้เรา อดทนฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ
ในซีซั่นนี้ คุณเฟิร์ส ที่เป็นแชมป์ของรายการ ได้พิสูจน์แล้วว่าจากคนธรรมดา ก็กลายเป็นคนมีฝีมือได้ ถ้ารู้จักความพยายาม ความอดทน รักและหลงใหลในสิ่งที่ตัวเองทำ
แล้ววันนี้เรามีอะไรที่ชอบ และ สนุกไปกับมันบ้างไหม
ถ้าเราหาสิ่งที่ชอบเจอ ก็น่าจะทำมันให้สุดทาง
สุดท้ายเราก็น่าจะเป็น Master ในเรื่องนั้นได้ไม่แพ้ คุณเฟิร์ส..
----------------------
<ad> เราไปได้ไม่สุดทางแน่ ถ้าเจอดอกเบี้ยบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลแสนแพง
รวมหนี้และลดดอกเบี้ยลง เริ่มต้น 5.5% ด้วยบ้านหรือคอนโดของคุณ
บริการฟรีจาก Refinn ช่วยคุณหาธนาคารที่เหมาะสมได้ คลิกที่นี่ http://bit.ly/2FIcKVK
----------------------
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.