กรณีศึกษา แพ็กเกจจิ้ง เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

กรณีศึกษา แพ็กเกจจิ้ง เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

28 พ.ค. 2020
THE SUSTAINABLE BRAND
กรณีศึกษา แพ็กเกจจิ้ง เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
“ในอดีต สิ่งแวดล้อม ถูกมองเป็นเรื่องไกลตัว
แต่เมื่อมีปัญหาเรื่องฝุ่น PM2.5
และ ขยะที่เกิดขึ้นจากการส่งถึงบ้านในช่วง COVID-19
สิ่งแวดล้อมกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวทันที”
คุณสุภนัฐ รัตนทิพ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด
บอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตอนนี้
แล้วเรื่องนี้มันส่งผลอะไรให้แก่บริษัทแห่งนี้ ที่เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นการแปรรูปและผลิตแพ็กเกจจิ้งให้กับสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม
มากกว่า 50 แบรนด์ในประเทศไทย
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
รู้หรือไม่ ใน 1 ปี เต็ดตรา แพ้ค จัดส่งแพ็กเกจจิ้งแบบกล่องให้แก่แบรนด์สินค้าอาหารและเครื่องดื่มทั่วประเทศ
รวมกัน 6,700 ล้านกล่อง ซึ่งแปลว่าคนไทยอาจหยิบแพ็กเกจจิ้งของบริษัทแห่งนี้ ผ่านสารพัดสินค้าต่างๆ ตกวันละประมาณ 18 ล้านกล่อง
และหากแพ็กเกจจิ้งเหล่านี้ ไม่ผ่านกระบวนการการผลิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากพอ
ก็จะปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาอย่างมหาศาล ตั้งแต่ต้นทางการผลิตไปจนถึงปลายทาง
และผลที่ตามมาก็คือโลกเราร้อนขึ้นเรื่อยๆ ในทุกวัน หรือที่เรียกกันว่า “ภาวะเรือนกระจก”
เรื่องนี้ทำให้ผู้บริโภคเริ่มรู้สึกว่าต้องมีส่วนรับผิดชอบกับเรื่องที่เกิดขึ้น แล้วหนึ่งในความรับผิดชอบที่ผู้บริโภคคิดว่าตัวเองสามารถช่วยสิ่งแวดล้อมได้ก็คือ “การเลือกซื้อสินค้า”
คุณสุภนัฐ เล่าว่า จากผลวิจัยคนรุ่นใหม่จะเลือกซื้อสินค้าที่ตัวเองรู้สึกว่าเป็นแบรนด์ที่รักสิ่งแวดล้อม
ในขณะที่ผลสำรวจอีก 80% ระบุว่าผู้บริโภคทั่วโลกยอมจ่ายเงินมากขึ้น เพื่อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ แบรนด์ต่างๆ ก็ต้องการให้บรรจุภัณฑ์ตัวเองเป็นไปตามเทรนด์ของโลกที่เกิดขึ้น
ซึ่ง เต็ดตรา แพ้ค เอง ก็มีนโยบายเรื่องนี้แบบจริงจังและยั่งยืนมาโดยตลอด
ตั้งแต่ปี 2553 บริษัทแห่งนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทน และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการผลิตแพ็กเกจจิ้งและเครื่องจักรในกระบวนการผลิตและบรรจุ
จนสามารถลดปริมาณคาร์บอนไปแล้วกว่า 10 ล้านตัน
ส่วนวัตถุดิบหลักในการผลิตตั้งต้นจากป่าปลูกเชิงพาณิชย์ แล้วก็ค่อยๆ เปลี่ยนมาใช้วัสดุทดแทนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ในปริมาณมากขึ้น จนปัจจุบันมีสัดส่วนถึง 75%
หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ใน 1 กล่องแพ็กเกจจิ้ง มีส่วนผสมของวัตถุดิบสร้างใหม่ได้ตามธรรมชาติ ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 3 ใน 4 ส่วน และในอนาคตยังมีแผนพัฒนาเพื่อให้ครบ 100% ให้ได้
ทีนี้หลายคนคงถามว่าเมื่อเราใช้สินค้าหมด แพ็กเกจจิ้งก็จะถูกทิ้ง แล้วทีนี้มันจะไปไหนต่อ.. เพื่อไม่ให้กลายเป็นขยะที่เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม
คุณสุภนัฐ เล่าให้ฟังว่า หนึ่งในความท้าทาย ก็คือการนำขยะเหล่านี้กลับมารีไซเคิลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ที่ผ่านมา บริษัทพยายามร่วมมือกับแบรนด์สินค้าต่างๆ และหน่วยงานภาครัฐ
เมื่อหลายภาคส่วนต่างให้ความร่วมมือ จากจุดเล็กๆ ก็กลายเป็นเรื่องใหญ่
โดยไม่ได้หวังผลกำไรทางธุรกิจ แต่ต้องการให้สิ่งแวดล้อมในเมืองไทยกลับมามี กำไร หลังจากในอดีตมีแต่ ขาดทุน
แล้วหากถามต่อว่าเรื่องนี้คนที่จะมา พลิกเกม ได้ดีที่สุดคือใคร?
คุณสุภนัฐ บอกว่า บริษัทและหน่วยงานต่างๆ ก็ช่วยได้แค่ในระดับหนึ่ง
คนที่จะช่วยได้มากที่สุดก็คือ “เราทุกคน” ต่างหาก
เพราะวันนี้ผู้บริโภคคนไทยเริ่มมาใส่ใจกับการคัดแยกกล่องเครื่องดื่มต่างๆ
เพื่อนำกลับคืนเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ถูกต้อง
ขณะเดียวกันการระบาดของ COVID-19 ทั่วโลกก็ส่งผลกระทบกับบริษัทเช่นกัน
เมื่อหลายประเทศอยู่ในสถานะล็อกดาวน์ ทำให้การส่งออกวัตถุดิบในการผลิตแพ็กเกจจิ้ง ต้องหยุดชะงัก แต่..ความต้องการในตลาดเมืองไทยกลับเพิ่มขึ้น
เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ ทุกคนในบริษัทต่างทำงานกันหนักมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อหากระดาษมาผลิตแพ็กเกจจิ้งอาหารและเครื่องดื่มให้แก่แบรนด์สินค้าต่างๆ ในช่วงการระบาดของ COVID-19
เพราะหากไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะส่งผลให้แบรนด์ผลิตสินค้าไม่ได้ สุดท้ายสินค้าอาหารและเครื่องดื่มก็อาจขาดตลาดส่งผลกระทบต่อทุกคนในประเทศ
อีกประเด็นที่น่าสนใจก็คือ วิกฤติ COVID-19 เป็นตัวเร่งให้พฤติกรรมผู้บริโภคที่ถูกซ่อนอยู่ ถูกเปิดเผยออกมาให้เห็นชัดเจนอย่างรวดเร็วขึ้น ซึ่งหนึ่งในพฤติกรรมนั้นก็คือ ใครๆ ก็ใช้บริการซื้อสินค้าแบบ Delivery
คุณสุภนัฐ บอกว่าเรื่องนี้จะกลายเป็น New Normal ส่งผลให้บริษัทต้อง “ปรับตัว” เช่นกัน
เพราะเวลานี้ กำลังระดมไอเดียคิดค้นแพ็กเกจจิ้งรูปแบบใหม่เพื่อบรรจุอาหารและเครื่องดื่มที่รองรับบริการแบบ Delivery ที่นอกจากจะต้องสะอาด ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังต้องมีขนาดและสัดส่วนที่เหมาะสม สำหรับการขนส่งแบบนี้
เรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เพราะแต่เดิมเราอาจคิดว่าบริษัทที่ผลิตแพ็กเกจจิ้งต่างๆ
มีเป้าหมายเดียวคือสร้าง กำไร ให้แก่ตัวเองมากที่สุด
แต่.. ตอนนี้ความคิดใครหลายคนอาจจะเปลี่ยนไป
เมื่อเห็นยักษ์ใหญ่ในวงการโซลูชั่นการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มอย่างบริษัท เต็ดตรา แพ้ค
กำลังปกป้องอาหาร ให้สะอาดและปลอดภัย มีพร้อมสำหรับการบริโภคในทุกที่
กำลังปกป้องอนาคต จากสิ่งแวดล้อมที่กำลังค่อยๆ เสื่อมสภาพลง
กำลังปกป้องผู้คนให้ใช้แพ็กเกจจิ้งต่างๆ ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
เพราะสุดท้ายแล้ว หากต้องการให้บริษัทตัวเองยั่งยืน สิ่งรอบตัวและผู้บริโภคก็ต้องมีความยั่งยืนก่อนเป็นอันดับแรก..
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.