ถอดแนวคิดของ Makro สู่การเป็นผู้นำค้าส่งค้าปลีกในภูมิภาคเอเชีย

ถอดแนวคิดของ Makro สู่การเป็นผู้นำค้าส่งค้าปลีกในภูมิภาคเอเชีย

24 มิ.ย. 2022
ถอดแนวคิดของ Makro สู่การเป็นผู้นำค้าส่งค้าปลีกในภูมิภาคเอเชีย
Makro x ลงทุนแมน
คนไทยรู้จัก Makro สาขาแรกคือ ย่านลาดพร้าว เมื่อปี พ.ศ. 2532 หรือ 33 ปีที่แล้ว
จนปัจจุบัน Makro มี 148 สาขาในประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่หลากหลาย
ตั้งแต่กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย ร้านโชห่วย จนไปถึงกลุ่มโฮเรก้า หรือก็คือธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร คาเฟ่และผู้ให้บริการจัดเลี้ยง รวมถึงลูกค้าทั่วไป
เบื้องหลังที่ทำให้ Makro เติบโตอย่างแข็งแกร่งมาโดยตลอด
ก็มาจากโมเดลธุรกิจค้าส่งแบบ B2B ที่เน้นความหลากหลายของสินค้า และราคาค้าส่งที่ย่อมเยา
เพื่อให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจได้อย่างมีกำไร มีทีมงานสาขาที่สร้างความคุ้นเคยและความสัมพันธ์อันดี
กับร้านโชห่วย, คนค้าขายทั่วไป, จนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ซื้อสินค้าของ Makro เพื่อไปประกอบธุรกิจ
พูดง่าย ๆ คือ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
Makro เติบโตไปพร้อม ๆ กับผู้ประกอบการและลูกค้าที่มาใช้บริการนั่นเอง
ทำให้ในสมรภูมิห้างค้าส่งค้าปลีก Makro ยืนหนึ่งในเมืองไทยมาอย่างยาวนาน
ส่วนความเคลื่อนไหวล่าสุดก็คือ Makro ตั้งเป้าหมายใหญ่ท้าทายประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ
ที่มีมาตลอด 33 ปี เมื่อต้องการขึ้นเป็นผู้นำค้าส่งค้าปลีกในภูมิภาคเอเชีย
ที่น่าสนใจคือ เป้าหมายอันยิ่งใหญ่นี้ ไม่ใช่ Makro จะได้รับประโยชน์แค่ฝ่ายเดียว
แต่ยังมุ่งนำพา SME และเกษตรกรไทย ให้เติบโตไปด้วยกัน และได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ด้วย
Makro จะทำให้ภาพความสำเร็จนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ลงทุนแมน จะวิเคราะห์ให้ฟัง
3 เดือนแรกของปี 2565 Makro มียอดขาย 106,268 ล้านบาท เติบโต 93.7%
ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 2,050 ล้านบาท เติบโต 18.3% หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
เหตุผลหลักคือ ผลพวงจากการควบรวมกิจการกับโลตัส ซึ่งทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นและรายได้จากพื้นที่เช่าของโลตัส รวมถึงรายได้ที่เติบโตจากธุรกิจค้าส่งของแม็คโครที่เกิดจากการฟื้นตัวของธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร หลังจากการระบาดของโควิด 19 ที่มีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อย ๆ
แต่หากขาดวิธีคิดในเชิงกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์องค์กรในการเติบโตพร้อมกับการตอบโจทย์ลูกค้า
ความแข็งแกร่งที่มีอยู่นั้น ก็จะไม่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
ตรงนี้เองที่เป็นเหมือนการบ้านข้อใหญ่ที่ Makro ต้องคิดเพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำค้าส่งค้าปลีกในภูมิภาคเอเชีย จนตกผลึกเป็นการเดินหน้าและพัฒนาในมิติต่าง ๆ พร้อมกับเม็ดเงินลงทุนสูงถึง 60,000 ล้านบาท ใน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2564-2568
การขยายสาขาทั้งภายในและต่างประเทศ
Makro ประกาศว่า ต่อจากนี้จะเดินหน้าขยายสาขาทั้งแม็คโคร และ โลตัส ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเติบโต และสำหรับการขยายตัวในต่างประเทศ
ปัจจุบัน Makro มีสาขาในต่างประเทศรวม 7 สาขา ได้แก่ กัมพูชา 2 สาขา, เมียนมา 1 สาขา, อินเดีย 3 สาขา และ จีน 1 สาขา
แผนล่าสุดก็คือ หลังสถานการณ์ โควิด 19 คลี่คลายลง Makro จะเริ่มขยายสาขาในต่างประเทศ
โดยเน้นไปที่ภูมิภาคอาเซียนเป็นหลัก พร้อมกับนำเทคโนโลยีล้ำ ๆ เข้ามาใช้
เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้แก่ลูกค้า
ตอบโจทย์ธุรกิจในยุคดิจิทัล ด้วยรูปแบบการขาย Omni Channel ที่เชื่อมออนไลน์ ออฟไลน์อย่างสมบูรณ์แบบ
รู้หรือไม่ว่า นอกจากช่องทางสาขาที่เติบโตแล้วนั้น ยอดขายออนไลน์ของ Makro ก็เติบโตเร็วเกินคาด
โดยข้อมูลล่าสุด ปี 2564 ที่ผ่านมา แม็คโครมีสัดส่วนยอดขายผ่านช่องทาง Omni Channel ถึง 12% จากยอดขายทั้งหมด ซึ่งเติบโตจากปีก่อน ที่มีสัดส่วนเพียง 7.5%
เหตุผลมาจากการระบาดของโควิด 19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ที่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อของลูกค้ามาสู่ช่องทางออนไลน์มากขึ้น
โดย Makro เองก็ได้พัฒนาช่องทางหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น MakroClick
รวมถึง maknet B2B Marketplace หรือตลาดค้าส่งออนไลน์สำหรับผู้ประกอบการแบบ End to End Solution
แน่นอนว่าต่อจากนี้ Makro ก็จะคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ในช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
เพื่อให้ลูกค้ามีช่องทาง ในการซื้อสินค้าได้สะดวกและง่ายขึ้น
พร้อมทั้งเชื่อมต่อระบบนิเวศน์ในสาขาให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สร้าง “แพลตฟอร์มแห่งโอกาส” เพื่อสนับสนุน SME และเกษตรกรไทย
ปัจจุบัน Makro ให้การสนับสนุน SME และเกษตรไทยกว่า 20,000 ราย
ผ่านโครงการแพลตฟอร์มแห่งโอกาส ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายของ Makro ที่จะพาเอสเอ็มอีไทย เติบโตไปเป็น ผู้ผลิตที่แข็งแกร่ง พร้อมกับ การเติบโตของแม็คโครขึ้นสู่ ผู้นำธุรกิจค้าปลีกค้าส่งในภูมิภาค
นอกจากจะช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว Makro ยังเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้า ที่นำพาสินค้าของผู้ประกอบการไทยไปถึงมือผู้บริโภคในภูมิภาค ช่วยสร้างแบรนด์ไทยให้เป็นที่ยอมรับในตลาดสากล
โดย ปัจจุบัน Makro ส่งออกสินค้า SME สู่สาขาต่างประเทศไปแล้วกว่า 300 รายการ จึงทำให้ “แพลตฟอร์มแห่งโอกาส” เป็นสิ่งที่น่าสนใจและน่าจับตามอง เพราะนอกจากจะเป็นโครงการที่ทำให้เอสเอ็มอีไทยเติบโตทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศแล้ว
ยังเป็นหมัดเด็ดของแม็คโครในการสร้างความนิยมให้สินค้าไทยเป็นแม่เหล็กดึงดูดลูกค้า เข้ามาในสาขา ต่างประเทศ นับว่าเป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์และ win win ด้วยกันทุกฝ่าย
คงพอมองเห็นแล้วว่า เส้นทางที่ Makro จะขึ้นมาเป็นผู้นำค้าส่งค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียนั้น มีวิธีไหนบ้าง
และหากทำสำเร็จคนที่ได้รับผลประโยชน์คงไม่ใช่แค่ Makro เพียงฝ่ายเดียว
ที่สำคัญ ผู้ผลิต SME และเกษตรกรไทย จะมีโอกาสสร้างรายได้และเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน
เป็นการสะท้อนถึงอุดมการณ์การทำธุรกิจของ Makro นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท
ที่ไม่ว่าโลกธุรกิจ และเทคโนโลยีจะเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงมากแค่ไหน
แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ Makro ต้องการเติบโตไปพร้อม ๆ กับพันธมิตร และลูกค้านั่นเอง..
References
-คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2565
-https://positioningmag.com/1365379
-https://www.prachachat.net/finance/news-778688
-https://www.siammakro.co.th
-ข่าวประชาสัมพันธ์ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.