กรณีศึกษา Q House ถือหุ้น HomePro มูลค่ามากกว่าบริษัทตัวเอง

กรณีศึกษา Q House ถือหุ้น HomePro มูลค่ามากกว่าบริษัทตัวเอง

1 พ.ย. 2022
กรณีศึกษา Q House ถือหุ้น HomePro มูลค่ามากกว่าบริษัทตัวเอง /โดย ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า บริษัท Quality Houses หรือ QH เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ถือหุ้นอยู่ใน HomePro 19.87% ตีเป็นมูลค่าราว 37,700 ล้านบาท
ในขณะที่ QH มีมูลค่าทั้งบริษัทเพียง 22,700 ล้านบาท เท่านั้น
จะเห็นได้ว่ามูลค่าที่ QH ถือหุ้นอยู่ใน HomePro กลับมากกว่ามูลค่าทั้งบริษัทของตัวเองเสียอีก ซึ่งการเปรียบเทียบแบบนี้ เราเรียกอีกอย่างว่า “Sum of the Parts” เป็นวิธีการประเมินมูลค่าธุรกิจรูปแบบหนึ่ง
คำถามคือ แล้วทำไม มันถึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้ได้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
Sum of the Parts หรือ SOTP เป็นส่วนประกอบในการประเมินมูลค่าหุ้นรูปแบบหนึ่ง สรุปเป็นคอนเซปต์สั้น ๆ ก็คือ
- ดูมูลค่าบริษัทลูกที่บริษัทแม่ถืออยู่
- นำมาเปรียบเทียบกับมูลค่าของบริษัทแม่
หากมูลค่าของบริษัทลูกที่ถืออยู่ มากกว่ามูลค่าของบริษัทแม่ จึงมีความเป็นไปได้ว่า เราสามารถลงทุนในบริษัทแม่ เพื่อถือครองบริษัทลูกทางอ้อมได้
หนึ่งในตัวอย่างของเรื่องนี้ ก็คือ Quality Houses หรือ QH ในตลาดหุ้นไทย ที่ถือหุ้น HomePro อยู่ 19.87%
ตีเป็นมูลค่า HomePro ใน QH เท่ากับ 37,700 ล้านบาท
มากกว่าทั้งบริษัท QH ที่มีมูลค่า 22,700 ล้านบาท
เห็นได้ชัดว่าถ้า QH ขายหุ้น HomePro ทั้งหมดออกมา ซึ่งจะถูกหักภาษีนิติบุคคลอีก 20% ก็จะได้เงินสดกลับมา 30,160 ล้านบาท ซึ่งจะมากกว่ามูลค่าทั้งกิจการของตัวเองอยู่ดี
แบบนี้หลายคนอาจคิดว่าหากเราเข้าไปลงทุนใน QH ตอนนี้ เราจะได้มูลค่าที่ซ่อนอยู่ของ HomePro แถมกิจการทั้งหมดของ QH ไปฟรี ๆ
แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราต้องดูมากกว่านั้น..
เพราะเราก็ต้องไปดูธุรกิจหลักของ QH ด้วยว่า
- บริษัทมีหนี้เท่าไร จ่ายดอกเบี้ยเท่าไร ซึ่งในกรณีนี้บริษัท QH ก็มีหนี้อยู่ในระดับหมื่นล้านบาทเลยทีเดียว
- บริษัททำกำไรได้สม่ำเสมอแค่ไหน ธุรกิจหลักอยู่ในช่วงขาลงหรือเปล่า
- แนวโน้มการเติบโตในอนาคต เป็นอย่างไร
ทั้งหมดนี้ จึงอาจเป็นส่วนสำคัญ ที่ตลาดมองว่า QH อาจจะยังมีความเสี่ยงที่ตัวธุรกิจหลักอยู่ จึงให้ส่วนลดมูลค่า
นอกเหนือจากการดูธุรกิจหลัก ก็จะมีมุมของการดูบริษัทลูกด้วยว่าทำธุรกิจอะไร เป็นหุ้นที่มีการเก็งกำไรสูงหรือไม่
เพราะมันอาจจะทำให้การประเมินแบบ Sum of the Parts ใช้งานอะไรไม่ได้เลย เช่น กรณีของ JAS ที่ถือหุ้นใน JTS
ในช่วงกลางปี มูลค่าของ JTS ปรับตัวขึ้นมาหลายเท่าตัว หลังจากบริษัทรายงานว่า จะเข้าไปทำธุรกิจคริปโทเคอร์เรนซี ในปีก่อนหน้า
ณ จุดสูงสุด JTS มีมูลค่า 4.2 แสนล้านบาท
โดย JAS ถือหุ้น JTS อยู่ 32.8% คิดเป็นมูลค่า 1.4 แสนล้านบาท ในขณะที่ JAS มีมูลค่าเพียง 2.1 หมื่นล้านบาท เท่านั้น
แต่ด้วยความที่ตลาดมองว่า JTS เป็นหุ้นที่มีการเก็งกำไรสูงเกินไป มีความผันผวนสูง ราคาหุ้นของ JAS จึงไม่ปรับตัวขึ้นตาม..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.