SCB ตั้งเป้า เป็นที่ 1 ด้าน Wealth Management
SCB ตั้งเป้า เป็นที่ 1 ด้าน Wealth Management /โดย ลงทุนแมน
ถ้าให้นึกถึงกลุ่มลูกค้าที่ชัดของธนาคารแต่ละสี
- ถ้าธนาคารสีน้ำเงิน เราอาจนึกถึงลูกค้าที่เป็นบริษัทใหญ่
ถ้าให้นึกถึงกลุ่มลูกค้าที่ชัดของธนาคารแต่ละสี
- ถ้าธนาคารสีน้ำเงิน เราอาจนึกถึงลูกค้าที่เป็นบริษัทใหญ่
- ถ้าธนาคารสีเขียว เราอาจนึกถึงกลุ่มลูกค้า SMEs
- ถ้าธนาคารสีเหลือง เราอาจนึกถึง Consumer Finance ที่เป็นบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล
คำถามที่น่าสนใจก็คือ แล้วธนาคารสีม่วงอย่าง SCB ใครเป็นกลุ่มลูกค้าที่ชัดที่สุดของ SCB ?
คำตอบนี้ได้ถูกเฉลยโดย คุณ กฤษณ์ จันทโนทก CEO คนแรกของ SCB ในยุคหลังการปรับโครงสร้างบริษัทให้ SCB อยู่ภายใต้ SCBX
คำตอบของทิศทาง SCB ก็คือ
SCB ต้องเป็นที่ 1 ในธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management)
SCB ต้องเป็นที่ 1 ในธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management)
ภาพจำแรกที่ทุกคนนึกถึงเมื่อเห็น SCB ต่อไปจะต้องเป็นเรื่อง Wealth Management
SCB คิดอะไรอยู่ ทำไมต้องเป็นแบบนั้น ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
คำตอบแรกก็คงเป็นเพราะ ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่เหมาะกับตลาดประเทศไทยในยุคถัดไป..
ถ้าให้ไปดูทั่วโลก ในช่วงหลัง ธนาคารระดับโลกที่ประสบความสำเร็จ ทั้งในแง่ P/BV Ratio และ ROE ที่สูงกว่าธนาคารอื่น ส่วนใหญ่ธนาคารเหล่านั้นจะให้ความสำคัญกับเรื่องธุรกิจ Wealth Management แทบทั้งนั้น
เรื่องสำคัญที่สุด คือ ด้วยโครงสร้างสังคมทั่วโลกกำลังเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ คนทั่วโลกจะให้ความสำคัญกับการบริหารความมั่งคั่งมากขึ้น
เพราะคนส่วนใหญ่เหล่านั้นไม่มั่นใจว่าประกันสังคมที่รัฐจัดหาให้มันเพียงพอต่อการใช้ชีวิตของเขาได้อย่างมีคุณภาพหรือไม่
และนอกจากนั้น ถ้ามองในเรื่องของอัตรากำไร ธุรกิจ Wealth Management จะมีอัตรากำไรที่ดีกว่า การปล่อยสินเชื่อเพื่อหาส่วนต่างดอกเบี้ย ในธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิม
จากข้อเท็จจริงที่ว่า SCB เพิ่งทําธุรกิจ Wealth Management อย่างจริงจังกันเมื่อ 4-5 ปีนี้ ปัจจุบันรายได้ของธุรกิจ Wealth Management ทั้ง Investment และ Insurance รวมกันเพิ่มขึ้นมาเป็น 20% จาก ปี 2017 ที่มีเพียง 7% ของรายได้ธนาคาร..
ตัวเลขที่เติบโตสูงขนาดนี้ จึงอาจเป็นสาเหตุให้ SCB อยากโฟกัสกับธุรกิจนี้มาก ๆ
แล้วใน 4-5 ปีที่แล้ว SCB ทำอะไรไปบ้าง ?
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เมื่อ 5 ปีที่แล้ว SCB ร่วมมือกับ จูเลียส แบร์ (Julius Baer) ธนาคารจากสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งธนาคารนี้จะเน้นแต่ ธุรกิจด้าน Wealth Management โดยเฉพาะ Private Banking เท่านั้น
แล้ว Private Banking คืออะไร ? ทำไม SCB มีประสบการณ์ในภาคธนาคารมายาวนานขนาดนี้ ยังต้องพึ่งพาธนาคารต่างประเทศอีก
คำตอบก็คือ ธุรกิจ Private Banking เป็นการให้คำปรึกษาในเรื่องการวางแผนความมั่งคั่งแก่ลูกค้า โดยจะครอบคลุมไปถึง
1. การเพิ่มความมั่งคั่งแก่ลูกค้า
2. การรักษาความมั่งคั่งของลูกค้าไม่ให้เสียไป
3. การส่งมอบความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่นให้แก่ลูกค้า
ดังนั้น มันเกินขอบเขตไปจากที่หลายคนคิดในตอนแรก การบริหารความมั่งคั่งไม่ใช่แค่การแนะนำการลงทุน
แต่มันจะครอบคลุมไปถึงการทำความรู้จักครอบครัวลูกค้า การวางแผนการบริหารความมั่งคั่งในองค์รวมให้แก่ลูกค้า การแนะนำเครื่องมือทางการเงินแบบที่คิดมาโดยเฉพาะให้แก่ลูกค้า ซึ่งเสมือนเป็น Family Office ให้แก่ลูกค้ารายใหญ่
ดังนั้นประสบการณ์ในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และในหลายครั้งต้องการความเชี่ยวชาญระดับโลกที่จะมาให้คำปรึกษาให้
ซึ่งธนาคารอื่นอาจจะใช้โมเดลการเป็นตัวแทนของธนาคารต่างประเทศ แต่ SCB เลือกโมเดลแบบไม่เหมือนใคร โดยเป็นการดึง Julius Baer เข้ามาร่วมทำธุรกิจด้วยซะเลย
การร่วมมือครั้งนี้เป็นการร่วมทุนแบบขอ License ตั้งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ใหม่ในไทย โดย SCB ถือหุ้นบริษัทนี้ 60% และ Julius Baer ถือหุ้น 40%
ดังนั้นการโฟกัสของธนาคารต่างประเทศก็จะแตกต่างกัน และสามารถออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าได้
ผลิตภัณฑ์ที่เราอาจนึกไม่ถึง อย่างเช่น สินเชื่อเพื่อการลงทุน (Lombard Loan) โดยเอาหลักทรัพย์เช่น หุ้น มาค้ำประกันเพื่อขอสินเชื่อไปลงทุน ซึ่งโดยปกติแล้วธนาคารแบบดั้งเดิมจะไม่ได้เสนอสินเชื่อลักษณะนี้กัน
ถ้าถามว่า SCB ตอนนี้มีธุรกิจ Wealth Management ใหญ่ขนาดไหน ?
จริง ๆ แล้ว SCB ในตอนนี้เป็นอันดับ 1 ในเรื่องฐานลูกค้าด้าน Wealth ที่มีปริมาณมากที่สุดอยู่แล้ว แต่การมีเป้าหมายว่าต้องเป็นอันดับ 1 ในธุรกิจ Wealth Management ในทุก ๆ ด้าน ก็อาจทำให้ภาพของธนาคารชัดขึ้น
โดยปัจจุบัน SCB มีลูกค้าตั้งแต่ระดับ PRIME (2 ล้านบาทขึ้นไป) รวมกันกว่า 500,000 ราย และรวมสินทรัพย์ภายใต้บริหารจัดการ (AUM) กว่า 1,600,000 ล้านบาท
จากข้อเท็จจริงที่ว่า GDP ของประเทศไทยล่าสุด อยู่ที่ 17,000,000 ล้านบาท
จากข้อมูล ก็คงไม่ผิดที่จะบอกว่า
SCB กำลังมีเป้าหมายที่สร้างผลกระทบเป็นวงกว้าง ในการโฟกัสที่จะบริหารความมั่งคั่ง ให้ทรัพย์สินจำนวนมาก
SCB กำลังมีเป้าหมายที่สร้างผลกระทบเป็นวงกว้าง ในการโฟกัสที่จะบริหารความมั่งคั่ง ให้ทรัพย์สินจำนวนมาก
มากขนาดที่คิดเป็นประมาณ 10% ของ GDP ไทยเลยทีเดียว..