
สรุปกำไรประเภทต่าง ๆ แบบเข้าใจง่าย ผ่านงบการเงิน After You
สรุปกำไรประเภทต่าง ๆ แบบเข้าใจง่าย ผ่านงบการเงิน After You /โดย ลงทุนแมน
“กำไร.. คือเจ้ามือที่แท้จริง” เชื่อว่านักลงทุนหลายคน คงเคยได้ยินประโยคนี้
“กำไร.. คือเจ้ามือที่แท้จริง” เชื่อว่านักลงทุนหลายคน คงเคยได้ยินประโยคนี้
เพราะในระยะยาว “กำไร” มักเป็นเครื่องชี้วัดศักยภาพของบริษัท และมักเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อมูลค่าบริษัท และราคาหุ้น
ในบทความนี้ ลงทุนแมนจะพาไปรู้จักกับกำไรประเภทต่าง ๆ ผ่านงบการเงินจริง
โดยเราจะใช้งบการเงินไตรมาส 1 ปี 2568 ของบริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) หรือ AU เจ้าของร้านขนมหวาน After You มาใช้ช่วยอธิบายความหมายของกำไรต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจง่าย และเห็นภาพได้ชัดเจน
ก่อนอื่น เราไปดูรายได้ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในงบกำไรขาดทุนกันก่อน
รายได้
- รายได้จากการขาย 421 ล้านบาท
- รายได้อื่น 4 ล้านบาท
- รายได้จากการขาย 421 ล้านบาท
- รายได้อื่น 4 ล้านบาท
ค่าใช้จ่าย
- ต้นทุนขาย 153 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายในการขายและจัดจำหน่าย 113 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 74 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสุทธิ (ดอกเบี้ยจ่าย หักดอกเบี้ยรับ) 1.5 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายภาษี 18 ล้านบาท
- ต้นทุนขาย 153 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายในการขายและจัดจำหน่าย 113 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 74 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสุทธิ (ดอกเบี้ยจ่าย หักดอกเบี้ยรับ) 1.5 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายภาษี 18 ล้านบาท
โดยในงวดเดียวกันนี้ AU มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (CFO) ซึ่งเป็นเงินสดที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจหลักของบริษัท อยู่ที่ 56 ล้านบาท
มีค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการซื้อสินทรัพย์ถาวร และทยอยหักออกเป็นรายปีตามอายุสินทรัพย์ อยู่ที่ 46 ล้านบาท
เมื่อรู้รายการทางบัญชีต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการคำนวณกำไรแล้ว เรามาเริ่มกันที่กำไรตัวแรกกันเลย..
1. กำไรขั้นต้น (Gross Profit)
คือส่วนต่างระหว่างยอดขายสินค้าและบริการ กับต้นทุนสินค้าและบริการ (COGS) ที่มาจากธุรกิจหลักของบริษัท
คือส่วนต่างระหว่างยอดขายสินค้าและบริการ กับต้นทุนสินค้าและบริการ (COGS) ที่มาจากธุรกิจหลักของบริษัท
กำไรขั้นต้น = รายได้จากการขาย/ให้บริการ - ต้นทุนขาย/ต้นทุนบริการ
ซึ่งปกติแล้ว ตัวเลขกำไรขั้นต้นเพียงอย่างเดียว มักบอกอะไรไม่ได้มาก
สิ่งที่ใช้วิเคราะห์ได้มากกว่า จึงเป็นการต่อยอดเพื่อหาค่า “อัตรากำไรขั้นต้น”
สิ่งที่ใช้วิเคราะห์ได้มากกว่า จึงเป็นการต่อยอดเพื่อหาค่า “อัตรากำไรขั้นต้น”
อัตรากำไรขั้นต้น = (รายได้จากการขาย - ต้นทุนขาย) * 100% / รายได้จากการขาย
โดยอัตรากำไรขั้นต้น จะเป็นตัวชี้วัดถึงความสามารถในการควบคุมต้นทุนการผลิตสินค้าหรือให้บริการ ของธุรกิจ
และความสามารถในการตั้งราคา (Pricing Power) ของธุรกิจ รวมถึงความสามารถในการต่อรองกับคู่ค้าที่ขายสินค้าให้แก่บริษัท (Supplier)
ซึ่งในกรณีของ AU นั้น กำไรขั้นต้นก็จะเท่ากับ
รายได้จากการขาย 421 ล้านบาท
ลบด้วยต้นทุนขาย 153 ล้านบาท
จะได้กำไรขั้นต้นเท่ากับ 268 ล้านบาท
รายได้จากการขาย 421 ล้านบาท
ลบด้วยต้นทุนขาย 153 ล้านบาท
จะได้กำไรขั้นต้นเท่ากับ 268 ล้านบาท
คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้นที่ 63.7%
หรือก็คือ ทุก ๆ รายได้ 100 บาทของ AU จะกลายเป็นกำไรขั้นต้นที่ได้ 63.7 บาทนั่นเอง
หรือก็คือ ทุก ๆ รายได้ 100 บาทของ AU จะกลายเป็นกำไรขั้นต้นที่ได้ 63.7 บาทนั่นเอง
2. กำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit)
คือการนำเอา กำไรขั้นต้นที่เกิดขึ้น มาหักค่าต้นทุนต่าง ๆ ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจหลักของบริษัท เช่น ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A), ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา (R&D)
คือการนำเอา กำไรขั้นต้นที่เกิดขึ้น มาหักค่าต้นทุนต่าง ๆ ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจหลักของบริษัท เช่น ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A), ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา (R&D)
กำไรจากการดำเนินงาน = กำไรขั้นต้น - ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร - ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา
ซึ่งในกรณีของ AU นั้น กำไรจากการดำเนินงานก็คือ
กำไรขั้นต้น 268 ล้านบาท
ลบด้วยค่าใช้จ่ายในการขายและจัดจำหน่าย 113 ล้านบาท
และลบด้วยค่าใช้จ่ายในการบริหาร 74 ล้านบาท
กำไรขั้นต้น 268 ล้านบาท
ลบด้วยค่าใช้จ่ายในการขายและจัดจำหน่าย 113 ล้านบาท
และลบด้วยค่าใช้จ่ายในการบริหาร 74 ล้านบาท
กำไรจากการดำเนินงาน ก็จะเท่ากับ 81 ล้านบาท
และเราก็สามารถหา อัตรากำไรจากการดำเนินงาน ด้วยการเอาไปหารรายได้จากการขายที่ 421 ล้านบาท ก็จะได้เท่ากับ 19.2%
หรือสรุปได้ว่า ทุก ๆ รายได้ 100 บาทของ AU กลายเป็นกำไรจากการดำเนินงานได้ 19.2 บาท
อัตรากำไรจากการดำเนินงาน มักใช้ดูความสามารถในการทำกำไรจากการดำเนินงานหลักของธุรกิจ
และชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ
และชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ
3. กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT)
คือกำไรที่เกิดขึ้น ก่อนที่จะหักค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยและภาษี
โดยนำรายได้ทั้งจากธุรกิจหลัก รวมกับรายได้อื่น ๆ มาหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยและภาษี
คือกำไรที่เกิดขึ้น ก่อนที่จะหักค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยและภาษี
โดยนำรายได้ทั้งจากธุรกิจหลัก รวมกับรายได้อื่น ๆ มาหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยและภาษี
ซึ่งในกรณีของ AU นั้น กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี ก็จะเท่ากับ
รายได้รวม 425 ล้านบาท (รายได้จากการขาย 421 ล้านบาท + รายได้อื่น 4 ล้านบาท)
รายได้รวม 425 ล้านบาท (รายได้จากการขาย 421 ล้านบาท + รายได้อื่น 4 ล้านบาท)
ลบด้วยต้นทุนขาย 153 ล้านบาท
ลบด้วยค่าใช้จ่ายในการขายและจัดจำหน่าย 113 ล้านบาท
ลบด้วยค่าใช้จ่ายในการบริหาร 74 ล้านบาท
ลบด้วยค่าใช้จ่ายในการขายและจัดจำหน่าย 113 ล้านบาท
ลบด้วยค่าใช้จ่ายในการบริหาร 74 ล้านบาท
กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี จะได้เท่ากับ 85 ล้านบาท
จะเห็นว่า หากไม่มีรายได้อื่น ๆ EBIT ก็จะมีค่าเท่ากับ Operating Profit นั่นเอง
4. กำไรสุทธิ (Net Profit) คือผลกำไรที่แท้จริงของบริษัทหลังจากหักค่าใช้จ่ายทุกอย่างออกไปแล้ว ซึ่งมักเรียกกันว่า “บรรทัดสุดท้าย (Bottom Line)” เพราะจะอยู่บรรทัดล่างสุด ของงบกำไรขาดทุน
โดยกำไรสุทธิ จะมาจากการนำรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ทั้งจากธุรกิจหลักและรายได้อื่น ๆ มาหักด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายภาษี
ซึ่งในกรณีของ AU นั้น กำไรสุทธิ ก็จะเท่ากับ
รายได้รวม 425 ล้านบาท
ลบด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งเท่ากับ 359.5 ล้านบาท
กำไรสุทธิ ก็จะเท่ากับ 65.5 ล้านบาทนั่นเอง
รายได้รวม 425 ล้านบาท
ลบด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งเท่ากับ 359.5 ล้านบาท
กำไรสุทธิ ก็จะเท่ากับ 65.5 ล้านบาทนั่นเอง
และก็เช่นเดิม เราสามารถหาอัตรากำไรสุทธิ ซึ่งเป็นอัตราที่สะท้อน “กำไรจริง” ที่บริษัทเหลืออยู่ ได้จากสูตร กำไรสุทธิ * 100% / รายได้รวม = 15.4%
หรือก็คือ ทุกรายได้รวม 100 บาท ที่ AU ทำได้ จะตกเป็นกำไรสุทธิเข้ากระเป๋าบริษัท 15.4 บาท
5. กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA)
คือกำไรที่ใช้วิเคราะห์การดำเนินธุรกิจ โดยนำค่าใช้จ่ายส่วนที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด บวกกลับเข้ามารวมกับ กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT)
คือกำไรที่ใช้วิเคราะห์การดำเนินธุรกิจ โดยนำค่าใช้จ่ายส่วนที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด บวกกลับเข้ามารวมกับ กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT)
โดยค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายนั้น เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการซื้อสินทรัพย์ถาวร เช่น อาคารสำนักงาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องชงกาแฟ
ซึ่งในทางบัญชีจะนำค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาหักลดเป็นรายปีที่ใช้งานสินทรัพย์นั้น โดยอยู่ในส่วนของต้นทุนขาย (COGS) หรือ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A)
ในกรณีของ AU นั้น EBITDA จะมีค่าเท่ากับ
กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ที่ 85 ล้านบาท + ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ที่ 46 ล้านบาท = 131 ล้านบาท
กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ที่ 85 ล้านบาท + ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ที่ 46 ล้านบาท = 131 ล้านบาท
และ EBITDA ที่นำไปหารกับรายได้รวม ก็จะได้ค่า EBITDA Margin (ในกรณีของ AU คือได้ 30.8%) ที่ใช้เพื่อประเมินความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ โดยไม่รวมต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับเงินสด
เสมือนการวัดศักยภาพการทำกำไรจากการดำเนินงานในรูปเงินสด หรือประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจ
มาถึงตรงนี้ เราก็น่าจะพอเข้าใจความหมายและวิธีการคำนวณกำไรต่าง ๆ กันพอสมควรแล้ว ซึ่งกำไรทั้ง 5 ประเภท
- กำไรขั้นต้น (Gross Profit)
- กำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit)
- กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT)
- กำไรสุทธิ (Net Profit)
- กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA)
- กำไรขั้นต้น (Gross Profit)
- กำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit)
- กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT)
- กำไรสุทธิ (Net Profit)
- กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA)
มักเป็นกำไรที่เราพบเจอในบทวิเคราะห์ หรือข่าวการเงินต่าง ๆ อยู่เสมอ
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนบางคน ก็อาจมีการคิดค้นวิธีคิดกำไรแบบใหม่ ๆ ขึ้นมาเอง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ธุรกิจ ที่ตอบโจทย์บางบริบทมากขึ้น
อย่างเช่น Warren Buffett ที่คิดค้น กำไรมองทะลุ (Look-Through Earnings) และกำไรของเจ้าของ (Owner Earnings) เพราะมองว่ากำไรแบบต่าง ๆ ที่นิยมใช้กันอยู่นั้น ไม่ได้สะท้อนผลตอบแทนที่แท้จริงของธุรกิจ..
Tag: after you