เจาะลึก ท๊อป Bitkub ปรับตัวไปต่ออย่างไร ในช่วงเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ?

เจาะลึก ท๊อป Bitkub ปรับตัวไปต่ออย่างไร ในช่วงเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ?

23 ธ.ค. 2022
“จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ในมุมมองต่อเศรษฐกิจโลก และการบริหารธุรกิจ
dtac business x ลงทุนแมน
เศรษฐกิจโลกในปีนี้ ทั้งสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย ภาวะเงินเฟ้อ และการล่มสลายของทั้ง LUNA และ FTX ในตลาดคริปโทเคอร์เรนซี เป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน จนสร้างผลกระทบต่อหลายอุตสาหกรรมทั่วทุกมุมโลก
ธุรกิจยักษ์ใหญ่ระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Meta, Amazon, Microsoft และ Google หรือแม้แต่ธุรกิจระดับภูมิภาค ที่กำลังเร่งลงทุนเพื่อสร้างการเติบโตอย่าง Grab และ Sea เจ้าของ Shopee และ Garena ต่างพร้อมใจกันชะลอการลงทุน รวมถึงได้มีการเลิกจ้างงาน ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์
ลงทุนแมนได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด มุมมองต่อเศรษฐกิจโลก และการบริหารธุรกิจปีนี้ว่าเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟัง
เศรษฐกิจปีหน้า หรือในปี 2023 จะยังคงเป็นความท้าทายต่อหลายธุรกิจ
ทุกบริษัทจำเป็นที่จะต้องรัดเข็มขัด และรักษาสภาพคล่องของธุรกิจไว้ให้ดี
แต่คุณท๊อปก็มองว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เป็นเพียงผลกระทบในระยะสั้น
ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ธุรกิจที่แข็งแกร่ง พร้อมจะอยู่รอดและเติบโตต่อไปได้
ในขณะเดียวกัน ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีเองยังเป็นเทคโนโลยีใหม่
ในระยะสั้นจะเกิด Natural Selection หรือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
ในที่นี้ ก็คือ เจ้าของกิจการที่ดี มีการบริหารอย่างสุจริต
มีความเป็นระบบระเบียบ จะยังคงทำธุรกิจต่อไปได้ในระยะยาว
Bitkub ปรับตัวจากการเป็นธุรกิจดิจิทัลตั้งแต่วันแรก โดยมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น แอปพลิเคชันสำหรับการดำเนินธุรกิจในองค์กรเกินกว่า 100 แอปพลิเคชัน เข้ามาประยุกต์ใช้ในแต่ละหน่วยธุรกิจ
โดยหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ Bitkub ใช้มาตั้งแต่วันแรก จนถึงทุกวันนี้
ก็คือ “Google Workspace” ซึ่งมีเหตุผลหลัก ๆ ก็เพราะว่า
- Google เป็นบริษัทที่สตาร์ตอัปทั่วโลกนิยมใช้กัน
- เป็นผู้นำในด้านการทำงานในองค์กร
- ความปลอดภัย ก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้การวางกลยุทธ์ทางธุรกิจ
สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ Google Workspace เรียกได้ว่า เป็นตัวช่วยบริหารองค์กรอย่างครบวงจร เพราะมีแอปพลิเคชันครอบคลุมตามแต่ละสายงานต่าง ๆ เช่น อีเมล การจัดการเอกสารหลายประเภท การจัดประชุม ระบบการจัดเก็บข้อมูล ไปจนถึงด้านการรักษาความปลอดภัย ครบถ้วนบนแพลตฟอร์มเดียว
ก็ต้องบอกว่าเทคโนโลยีบริการองค์กร แบบ Google Workspace นับเป็นหัวใจสำคัญ โดยเฉพาะการทำธุรกิจในยุคต่อไป เพราะมันจะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาคอขวดในกลุ่มธุรกิจ SME ที่มีมากถึง 3,000,000 ราย และสร้าง GDP รวมกันราว 42% ของประเทศไทย
โดยปัญหาคอขวดที่ว่าก็คือ ผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่แล้ว มักจะรับผิดชอบหลายบทบาทด้วยตัวคนเดียว ไม่ว่าจะเป็น
- การตรวจสอบสินค้าคงคลัง
- การทำธุรกรรมหลายประเภท
- การติดต่อสื่อสารกับพันธมิตรทางธุรกิจ
- การทำบัญชี
การมีแอปพลิเคชัน หรือซอฟต์แวร์ระดับโลก เข้ามาช่วยบริหารจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ
หรือในบางครั้ง ก็ยังสามารถนำมาช่วยคิดวิเคราะห์ รวมถึงประเมินสิ่งที่ลูกค้าต้องการในอนาคต จากฐานข้อมูลที่เรามี ก็จะช่วยให้ SME ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น หรือซ้อนทับกันอยู่ได้
ในขณะที่ตัวผู้ประกอบการเอง ก็สามารถโฟกัสกับภาพรวมของธุรกิจได้กว้าง และครอบคลุมกว่าเดิม
คุณท๊อปแชร์ให้ฟังว่า แม้ในวันแรก Bitkub จะเลือกใช้ Google เป็นซอฟต์แวร์ เพื่อนำมาช่วยบริหารจัดการข้อมูล แต่ในเวลาต่อมา Bitkub ก็ได้มีการปรับมาใช้ Google Workspace จาก “dtac business”
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ดีแทค เป็นนักลงทุนใน Bitkub ตั้งแต่ยังเป็นสตาร์ตอัปในรอบ Seed Round
ซึ่งตั้งแต่นั้นมา ทั้ง 2 บริษัท ก็เรียกได้ว่ายังคงเป็นพันธมิตรทางธุรกิจด้วยกันมาโดยตลอด
Bitkub จึงได้เลือก dtac business เป็นพันธมิตรในการช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทีนี้มาดูกันว่า แล้ว Google Workspace จาก dtac business มีความแตกต่าง อย่างไร ?
อย่างแรกเลยก็คือ “ทีมผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้ความช่วยเหลือ”
dtac business จะมีทีมที่ปรึกษา เข้ามาดูแล และให้บริการ การใช้งานต่าง ๆ เกี่ยวกับ Google Workspace ครบวงจร ทั้งประเมินธุรกิจ คอยเข้ามาดูแลความปลอดภัย และการจัดการเรื่องทางการบัญชี และการจัดการธุรกรรม รวมถึงช่วยดูเรื่องความเหมาะสมของแพ็กเกจโซลูชัน เช่น พื้นที่เก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์
รวมถึงมีบริการเสริมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเสริมเข้ามาด้วย ไม่ว่าจะเป็น dtac OneCall ซึ่งคือ Mobile PBX เพื่อเชื่อมต่อเบอร์กลางของบริษัทกับเบอร์โทรศัพท์มือถือของพนักงาน ให้จัดการสายอย่างมืออาชีพ เหมือนมีระบบ Call Center สำหรับธุรกิจทุกขนาด
ถัดมาก็จะเป็นจุดตายของหลายบริษัท
หรือก็คือ “การออกบิล และใบกำกับภาษี”
อย่างที่ได้เล่าไปก่อนหน้านี้ว่า Bitkub มีการใช้งานเกินกว่า 100 แอปพลิเคชันในองค์กร และมีพนักงานเกินกว่า 2,000 ชีวิต (เป็นจำนวนพนักงานรวมจากทุกบริษัทในเครือบิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ปเมื่อปี 2021)
จินตนาการดูว่าหากเป็นการทำธุรกิจดั้งเดิม กว่าเราจะจัดการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับแอปสำหรับพนักงานหลักพันคนในองค์กรในแต่ละเดือน ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก การมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยออกแบบการทำงานเกี่ยวกับการออกบิลบน Google Workspace อย่างเป็นระบบ ช่วยให้บริษัทลดความผิดพลาด ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลงได้มหาศาล

และด้วยความที่แอปพลิเคชัน และฟังก์ชันต่าง ๆ บน Google Workspace มีหลากหลาย
คุณท๊อปได้แชร์ให้ฟังว่า การมีเทคโนโลยีที่ดี และมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยดูแลให้ เช่น dtac business เข้ามาช่วยเหลือในด้านการใช้งาน การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ สำหรับธุรกิจโดยเฉพาะ ไม่ต่างอะไรไปจากคนสอนกินบุฟเฟต์ ที่พอเราจ่ายไปแล้ว บางทีอาจจะใช้คุ้มบ้าง ไม่คุ้มบ้าง แต่ผู้เชี่ยวชาญจะมาเป็นผู้ช่วยให้เราใช้งานแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้อย่างคุ้มค่า และเลือกแผนที่เหมาะสมกับกิจการของเรามากที่สุด
หากเราเป็นเจ้าของกิจการ การศึกษาและมองหาเทคโนโลยี หรือซอฟต์แวร์มาช่วย
เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำธุรกิจ ก็ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม
เพราะยิ่งเรานำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้มากเท่าไร
ขั้นตอนการทำธุรกิจและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในบริษัทเรา ก็จะยิ่งลดลงไปได้มากเท่านั้น
โดยเฉพาะในภาวะวิกฤติ หากธุรกิจเราลีนมากเท่าไร เราก็จะสามารถรัดเข็มขัดได้เร็ว โอกาสการอยู่รอดของเราก็จะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งโซลูชันบน Cloud Technology สามารถตอบโจทย์เรื่องราวทั้งหมดนี้ได้เป็นอย่างดี

จุดนี้เอง จึงเป็นที่มาของแพลตฟอร์มที่ชื่อว่าดีแทค “B-LAB” ที่ดีแทคและ Google รวมกันพัฒนาขึ้นมา
เพราะมองเห็นช่องว่าง และปัญหาคอขวดที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการไทยหลายราย

ดีแทค B-LAB จึงเป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมโซลูชันต่าง ๆ สำหรับการทำธุรกิจ ทั้งยังมีการนำทีมผู้เชี่ยวชาญมาช่วยซัปพอร์ตเจ้าของกิจการด้วย


นอกเหนือจากแพลตฟอร์มโซลูชันทางธุรกิจแล้ว ดีแทค B-LAB ก็เป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อผู้ประกอบการเข้าด้วยกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลย คือ ตัวคุณท๊อป ก็ได้มีการเข้ามาแชร์ประสบการณ์ตรงจากการปั้นสตาร์ตอัปยูนิคอร์น รวมถึงนำกลยุทธ์ในการใช้ Cloud Technology มาแชร์ให้กับเจ้าของกิจการที่เป็นลูกค้าของดีแทค

โดยดีแทคมองว่าที่ต้องเป็นดีแทค B-LAB ก็เพราะว่าทุกวันนี้ เทคโนโลยีมีพร้อมอยู่แล้ว
แต่สิ่งที่ตลาดในประเทศไทยยังมีไม่พร้อม ก็คือ ทีมผู้เชี่ยวชาญ หรือที่ปรึกษา
ที่จะคอยให้คำแนะนำกับเราว่าธุรกิจของเราเหมาะกับโซลูชันประเภทไหน
ธุรกิจของเราควรเริ่มต้นอย่างไร
หรือหากพบปัญหาในแต่ละขั้นตอน เราจะแก้ไขปัญหาอย่างไร
Pain Point ทั้งหมดนี้ จึงถูกนำมามัดรวมกันไว้บนแพลตฟอร์มดีแทค B-LAB

ถึงตรงนี้ ก็ต้องบอกว่ามุมมองต่อสภาพเศรษฐกิจ และประสบการณ์การบริหารธุรกิจของคุณท๊อป Bitkub ก็น่าจะกลายมาเป็นไอเดียของเจ้าของกิจการไทยได้ ไม่มากก็น้อย

รวมถึงตัวแพลตฟอร์มดีแทค B-LAB เอง ที่เกิดขึ้นมาจากความร่วมมือ ระหว่างองค์กรชั้นนำอย่างดีแทค และ Google ก็น่าจะกลายมาเป็นอีกตัวช่วยสำคัญ ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาคอขวดของ SME ไทย ให้สามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น..

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ ดีแทค B-LAB ได้ที่ https://b-lab.dtac.co.th/
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.