เจาะลึกกลยุทธ์ของ KBTG ทำอย่างไร เพื่อเปลี่ยนจาก AI-First ไปสู่ Human-First

เจาะลึกกลยุทธ์ของ KBTG ทำอย่างไร เพื่อเปลี่ยนจาก AI-First ไปสู่ Human-First

20 ธ.ค. 2023
เจาะลึกกลยุทธ์ของ KBTG ทำอย่างไร เพื่อเปลี่ยนจาก AI-First ไปสู่ Human-First
KBTG x ลงทุนแมน
ในนิยามของการเป็น AI-First Organization โดยทั่วไปแล้ว ก็คือ การนำ AI มาใช้ขับเคลื่อนองค์กร รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ส่งมอบไปสู่ลูกค้า
แต่สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับผู้คน นับแสนหรือนับล้านคนแล้ว สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มี ไม่สามารถทำเพื่อผลกำไรเพียงอย่างเดียวได้
ทำให้การเป็น AI-First Organization ของ KBTG จึงเป็นมากกว่าเพื่อตัวองค์กร แต่ยังต้องต่อยอด เพื่อก้าวไปสู่การสร้างประโยชน์ให้แก่คนหมู่มาก (Human-First) ได้อีกด้วย
KBTG จะเปลี่ยนจาก AI-First Organization ไปสู่ Human-First ได้อย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
สำหรับในแวดวงการเงินบ้านเราแล้ว KBTG ถือเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการเงินของไทย โดยเฉพาะความสำเร็จ จากการพัฒนาบริการทางการเงินในเครือของกสิกรไทย ให้ใช้งานง่าย และใช้งานได้จริง
ซึ่งในส่วนนี้ KBTG ก็ได้มีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาช่วยขับเคลื่อนองค์กร จนกลายเป็น AI-First Organization ได้สำเร็จ
อย่างไรก็ตาม หากต้องการตอบสนองต่อลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทรัพยากรและเครื่องมือขององค์กรที่มี ก็ต้องถูกใช้เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างแท้จริง
คำว่า Human-First จึงถูกนำเข้ามา เพื่อต่อยอดความสำเร็จของ AI-First ที่ KBTG ได้วางรากฐานไว้ หรือก็คือ KBTG กำลังใช้ AI เข้ามาสร้างความพึงพอใจ และก่อประโยชน์ให้ผู้คนหมู่มาก
โดยแนวทางที่ KBTG ใช้เพื่อก้าวไปสู่ Human-First ก็คือ การเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้าน AI ใน 2 ส่วนหลัก คือ
- การทำวิจัย (Research)
- การนำมาประยุกต์ใช้จริง (Application) เพื่อการทำวิจัยและการนำงานวิจัยชิ้นนั้นมาประยุกต์ใช้จริงให้ได้
รวมถึงการเพิ่มศักยภาพทางเทคโนโลยี M.A.D. (Machine Learning, AI, Data) ของธุรกิจและอุตสาหกรรม ด้วยการวิจัยเชิงลึก และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ของตลาดได้
และยังมีการเผยแพร่องค์ความรู้ที่มี ซึ่งไม่เพียงแต่คนในองค์กรเท่านั้น แต่ KBTG ยังขยายไปถึงบุคคลภายนอก เพื่อยกระดับทักษะบุคลากรในวงการเทคโนโลยีไทยอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น
- M.A.D. Bootcamp ภายใต้โครงการ KBTG Kampus ClassNest ที่เปิดให้คนสายไอทีที่สนใจพัฒนาทักษะด้าน M.A.D.
- การสนับสนุนชุมชน AI (AI Community) ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ M.A.D.

- เผยแพร่ Best Practice และ Lesson Learned จากประสบการณ์ตรงของการทำงานภายใน KBTG ผ่าน KBTG Techtopia และเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ต่าง ๆ
แล้ว KBTG มีอะไรที่เป็นเครื่องยนต์หลัก ที่ใช้ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ Human-First ?
หลายครั้งที่เราเห็นการประกาศนโยบาย หรือวิสัยทัศน์ขององค์กร แต่กลับไม่มีความชัดเจน หรือบางครั้งก็ดูจะทำให้เกิดขึ้นจริงได้ยาก
แต่สำหรับ KBTG แล้ว การรุกเข้าสู่โลกของ AI เป็นเรื่องที่มีการวางแผนมาเป็นอย่างดี
สังเกตได้จากการตั้งหน่วยงานเฉพาะอย่าง KBTG Labs ทีมวิจัย Deep Tech ที่มีนักวิจัยและพัฒนาด้าน AI ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ซึ่งมีการทำวิจัยในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น
- Facial Recognition หรือ ระบบจดจำและตรวจจับใบหน้า
- Computer Vision หรือ AI ที่วิเคราะห์ภาพหรือวิดีโอ แบบเดียวกับระบบการมองเห็นของมนุษย์
- NLP (Natural Language Processing) หรือ AI ประมวลผลและวิเคราะห์ภาษาของมนุษย์
- Deep Learning หรือ อัลกอริทึมแบบระบบเรียนรู้เชิงลึก ที่ทำงานเหมือนระบบประสาทในสมองมนุษย์
โดย KBTG Labs เปรียบเสมือนห้องทดลองของ KBTG ที่ช่วยในการผลิตนวัตกรรมที่มีประโยชน์กับ KBank และผู้ใช้งาน ด้วยการนำไอเดียใหม่ มาสร้างให้เกิดผลงานที่ใช้ได้จริง
และหน่วยงานนี้เอง ที่เป็นเครื่องยนต์หลักของ KBTG ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อก้าวไปสู่แนวทาง Human-First
ซึ่งที่ผ่านมา ก็มีผลงานมากมายที่ออกมาจากห้องทดลองแห่งนี้ อย่างเช่น K PLUS SHOP แอปจัดการร้านค้าในยุคไร้เงินสด หรือ KhunThong เหรัญญิกประจำกลุ่มไลน์
โดยในปีนี้ KBTG Labs มีผลงานวิจัยทางด้าน M.A.D. ที่ตีพิมพ์ทั่วโลกถึง 6 ฉบับ รวมไปถึงการสนับสนุนงานวิจัยด้าน AI ร่วมของนายพัทน์ ภัทรนุธาพร นักศึกษาปริญญาเอกไทยคนแรก จาก MIT Media Lab หน่วยงานวิจัยระดับโลก โดยงานวิจัยนี้ได้ถูกตีพิมพ์ใน Nature Machine Intelligence วารสารวิชาการระดับโลก
และยังมีการจับมือกันกับ MIT Media Lab ร่วมกันทำงานวิจัยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Future You จำลองตัวตนของผู้ใช้งานในอนาคตที่สามารถโต้ตอบได้แบบเรียลไทม์ และ “คู่คิด” คู่หูที่พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางต่าง ๆ
โดยมี AI น้องคะน้าและคชา ที่จะตอบคำถามในมุมมองที่แตกต่างกัน โดย AI ตัวนี้ เป็นการพัฒนาต่อยอดจากงานวิจัย K-GPT (Knowledge-GPT) ซึ่งเป็นการใช้ความสามารถของ ChatGPT ในการให้ความรู้เชิงลึกเฉพาะด้าน
ซึ่งมาพร้อมกับความสามารถในการรองรับภาษาไทย และมีแผนจะนำ “คู่คิด” เปิดตัวสู่ตลาดใช้งานจริงในปี 2567
ที่น่าสนใจคือ การต่อยอดไปสู่การใช้งานจริง โดยการนำเทคโนโลยีและผลงานวิจัยด้าน M.A.D. มาประยุกต์ใช้และพัฒนาธุรกิจหลักขององค์กร ซึ่งช่วยให้ KBTG กลายเป็นผู้นำของตลาด เช่น
- การตลาด (Marketing Intelligence)
- สินเชื่อ (Credit Intelligence)
- การป้องกันการทุจริต (Fraud Intelligence)
- การให้บริการ Call Center
ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ มีมูลค่ารวมกันกว่า 500 ล้านบาทเลยทีเดียว
หรือแม้แต่การนำเทคโนโลยีมาใช้ยกระดับประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนา KBTG เอง เช่น
- การนำ Copilot มาช่วยเพิ่มศักยภาพการเขียนโคดของพนักงานขึ้น 2 เท่า
- การจัดตั้ง M.A.D. Guild ภายในองค์กร เพื่อเป็นแพลตฟอร์มในการแลกเปลี่ยนความรู้ และทำให้ AI เป็นเรื่องใกล้ตัวที่คน KBTG สามารถเข้าถึงและใช้งานได้ง่าย
รวมถึงการนำเทคโนโลยี AI ขององค์กร มาให้บริการทางพาณิชย์ผ่าน KX ซึ่งเปิดกว้างสำหรับพันธมิตรทางการเงิน และธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สนใจ ได้แก่
- เทคโนโลยีการยืนยันตัวตน และตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของการทำธุรกรรม (AINU)
- เทคโนโลยี AI ตรวจจับสภาพรถที่มีความเสียหาย และประเมินราคาค่าใช้จ่ายเบื้องต้นจากภาพถ่าย สำหรับใช้งานในธุรกิจประกัน (Car AI)
โดย Car AI ได้รับรางวัล Asian Technology Excellence Awards ในสาขา AI - Financial Technology ซึ่งจัดทำโดย Asian Business Review นิตยสารธุรกิจชั้นนำในระดับภูมิภาค
นอกจากผลงานที่เปิดตัวและใช้งานไปแล้ว KBTG ยังมีโปรเจกต์ใหม่ นั่นคือ KXVC กองทุนมูลค่า 3,500 ล้านบาท ที่ลงทุนด้าน AI, Web3 และ Deep Tech
โดยแผนงานในปี 2567 ของ KXVC จะมุ่งเน้นการลงทุนในกลุ่มสตาร์ตอัปและกองทุน AI ทั่วโลก เพื่อเป็นประตูที่จะนำเทคโนโลยี AI ใหม่ ๆ และเงินทุนจากต่างประเทศมาสู่ประเทศไทย
เพื่อพัฒนาระบบนิเวศประเทศไทย ให้พร้อมรองรับโลกของ AI, Web3 และ Deep Tech
รวมถึงการจับมือกับพันธมิตรทั้งในประเทศและนอกประเทศ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้าน M.A.D. และนำผลงานวิจัยที่กำลังทำอยู่ ไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เปิดให้คนทั่วไปสามารถใช้งานได้
และจะเห็นว่าด้วยแผนงานที่ชัดเจน, ความพร้อมทั้งเทคโนโลยี ความรู้ และทีมงานที่มีความสามารถ ตลอดจนการทุ่มเทในการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมออกมามากมาย
KBTG ที่เป็นผู้นำด้าน M.A.D. ของไทย ก็คงก้าวไปสู่ยุค Human-First ได้อย่างรวดเร็ว และปลุกปั้นงานวิจัยมากมายที่มีอยู่ ออกมาสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้คนได้อีกมากเลยทีเดียว..
Reference
-เอกสารประชาสัมพันธ์ KBTG
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.